Showing posts with label พระกรุเนื้อดิน. Show all posts

พระลีลาเม็ดขนุน



พระลีลาเม็ดขนุน กำแพงเพชร เป็นพระที่แสดงลักษณะกำลังก้าวเดิน โดยหันไปทางขวามือของเรา หมายถึงความเจริญก้าวหน้า และเป็นปางที่สมเด็จองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ในครั้งที่ไปแสดงธรรมโปรดองค์พุทธมารดาบนสวรรค์

...

พระกรุวัดพระสิงห์ พิมพ์กลม จ.สงขลา



พระกรุวัดพระสิงห์ อ.สะทิงพระ จ.สงขลา แตกกรุเมื่อราวกลางปี 2554 ที่ในนาข้าวติดกับวัดพระสิงห์ มีหลากหลายพิมพ์ กรมศิลป์จังหวัดสงขลาลงพื้นที่ประเมินอายุประมาณ 800 กว่าปี ซึ่งอยู่ในยุคการปกครองของพระเจ้าธรรมโศกราชแห่งเมืองนครศรีธรรมราช ประมาณ พ.ศ 1600-1800 ซึ่งยุคนั้นพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรื่องมาก แต่อาณาจักรศรีวิชัยได้เสื่อมอำนาจลงไปแล้ว

ช่างแกะพิมพ์ตามศิลปะแบบศรีวิชัยเก่า พิมพ์ทรงงดงามมากๆ เนื้อพระมีทั้งเนื้อดินเผาและดินดิบ มีวรรณะหลายสี เช่น สีออกแดงแบบสีอิฐสมัยเก่า สีเหลืองพิกุล สีขาวนวลหรือสีออกชมพู พุทธคุณเด่นทาง อยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาด มหาอุด

...

พระกรุเนื้อดินนาคปรก พิมพ์พระนางตรา นครศรีธรรมราช



พระกรุเนื้อดินนาคปรก พิมพ์พระนางตรา นครศรีธรรมราช

พระกรุนางตราที่แตกกรุ ออกมา มีพุทธศิลปะแบบศรีวิชัยยุคกลาง มีอายุประมาณปี พ.ศ.1500-1600 สร้างก่อนอาณาจักรละโว้หรือลพบุรี เป็นพระเนื้อดินเผาผสมว่านยา สีออกน้ำตาลแก่ ดำอมเทา หรือเหลืองมันปู ที่เป็นเนื้อชินมีน้อยมาก และมีมากมายหลายพิมพ์ทรง เช่น พิมพ์สามเหลี่ยมปาฏิหาริย์ พิมพ์ซุ้มปรางค์ พิมพ์ยืนประทานพร ฯลฯ แต่ที่เป็น "พิมพ์นิยม" และเป็นพระพิมพ์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังของภาคใต้ก็คือ พิมพ์นาคปรกใหญ่ เป็นพระทรงสี่เหลี่ยม พระประธานประทับนั่งสมาธิ แสดงปางนาคปรก มีลักษณะพิเศษที่ใต้ฐานนาคจะมีพระองค์เล็กประทับอยู่อีกหนึ่งองค์

พระกรุนางตรา มีพุทธคุณปรากฏด้านเมตตาและแคล้วคลาดคงกระพันเป็นเลิศ

...

พระกรุเนื้อดิน พิมพ์เหวัชระ





เหวัชระเป็นภาษาทิเบต หมายถึงเทพผู้พิทักษ์ในคติพุทธมหายานแบบตันตระ หรือมนตรยาน 

รูปลักษณะขององค์เหวัชระที่มักจะพบเห็นในสยามประเทศนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นศิลปะปลายเขมรเมืองพระนคร และมีศิลปะของทิเบตและจีนปรากฏให้เห็นบ้าง แต่มีรูปลักษณ์คล้าย คลึงกัน กล่าวคือ เป็นรูปเทพมี 8 เศียร 16 กร และมีพระบาท 4 ข้าง ทรงพัสตราภรณ์แบบเทวะ พระเศียรเรียงสองฟากข้างละ 3 เศียร ตรงกลางมีเศียรประธาน และทับเบื้องบนอีก 1 เศียร ในพระหัตถ์ทั้ง 16 ข้างถือกะโหลกศีรษะ ส่วนพระบาททรงเหยียบซากศพหรือซากอสูรไว้ 2 พระบาท ส่วนอีก 2 พระบาททรงอยู่ในท่าร่ายรำแบบอรรธปรยังก์ คือ พระชงฆ์ข้างซ้ายงอขึ้นเล็กน้อย ส่วนพระชงฆ์ขวาพับขึ้น บางศิลปะทำเป็นท่ายืนเหยียบอสูร หรือยืนสองพระบาทก็มี เชื่อกันว่าทรงมีพระฉวีหรือสีผิวเป็นสีน้ำเงิน

...

- Copyright © Sak_Pk Amulet - Skyblue - Powered by Blogger - Designed by Johanes Djogan -