- Back to Home »
- พระกรุเนื้อดิน , เหวัชระ »
- พระกรุเนื้อดิน พิมพ์เหวัชระ
Posted by : Sakda Karnwigit
10.10.13
เหวัชระเป็นภาษาทิเบต หมายถึงเทพผู้พิทักษ์ในคติพุทธมหายานแบบตันตระ หรือมนตรยาน
รูปลักษณะขององค์เหวัชระที่มักจะพบเห็นในสยามประเทศนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นศิลปะปลายเขมรเมืองพระนคร และมีศิลปะของทิเบตและจีนปรากฏให้เห็นบ้าง แต่มีรูปลักษณ์คล้าย คลึงกัน กล่าวคือ เป็นรูปเทพมี 8 เศียร 16 กร และมีพระบาท 4 ข้าง ทรงพัสตราภรณ์แบบเทวะ พระเศียรเรียงสองฟากข้างละ 3 เศียร ตรงกลางมีเศียรประธาน และทับเบื้องบนอีก 1 เศียร ในพระหัตถ์ทั้ง 16 ข้างถือกะโหลกศีรษะ ส่วนพระบาททรงเหยียบซากศพหรือซากอสูรไว้ 2 พระบาท ส่วนอีก 2 พระบาททรงอยู่ในท่าร่ายรำแบบอรรธปรยังก์ คือ พระชงฆ์ข้างซ้ายงอขึ้นเล็กน้อย ส่วนพระชงฆ์ขวาพับขึ้น บางศิลปะทำเป็นท่ายืนเหยียบอสูร หรือยืนสองพระบาทก็มี เชื่อกันว่าทรงมีพระฉวีหรือสีผิวเป็นสีน้ำเงิน
...